โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

โครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

          โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่สำคัญโดยมีพาหะที่สำคัญ ได้แก่ สุนัขและแมว การติดต่อของโรคส่วนใหญ่เกิดจากการถูกสุนัข-แมวที่มีการติดเชื้อกัด ซึ่งมีระยะแสดงอาการตั้งแต่ ๙ – ๑๒๕ วันในสุนัข และ ๙ – ๔๑ วันในแมว สัตว์จะแสดงอาการกระวนกระวาย หงุดหงิด โมโหง่าย ดุร้าย มีอาการทางประสาท และตายในที่สุด โดยพบว่า ๙๕% ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต เกิดจากการถูกสุนัขกัด โดยผู้ป่วยจะแสดงอาการทางประสาท ตายภายใน ๗ วัน หลังจากแสดงอาการดังกล่าว โรคพิษสุนัขบ้าจึงเป็นโรคที่สำคัญทางสาธารณะสุขของประเทศ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรค ประเทศไทยยังคงมีการระบาดของโรคนี้อยู่แม้ว่าอัตราการพบโรคจะลดลงจากอดีตอย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เป็นผลมาจากการดำเนินร่วมกันระหว่างภาคปศุสัตว์และภาคสาธารณสุข ภายใต้พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ และ WHO และ OIE ได้     ตั้งเป้าให้ทั่วประเทศทั่วโลกปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานทั้งด้านนโยบาย ด้านปฏิบัติการในพื้นที่ ด้านการตรวจวินิจฉัย ตลอดจนเครือข่าย     เฝ้าระวังโรคทั้งภาคปศุสัตว์และภาคสาธารณะสุข การเก็บรวบรวมข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมีการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

          องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยปูลิง เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ ว่าพื้นที่ในเขตตำบลห้วยปูลิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฉีดวัคซีนป้องกันและควบคุม โรคพิษสุนัขบ้า โดยรงณรงค์ให้ประชาชนในเขตตำบลห้วยปูลิงนำสุนัข-แมว ในความดูแลให้ได้รับการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เพื่อสุนัข-แมว มีภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งจะมีผลทำให้ลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ รวมทั้งส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงสุนัข-แมวอย่างปลอดภัย รักถูกวิธี เป็นการลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษ   สุนัขบ้ากัด

3.วัตถุประสงค์โครงการ

1.เพื่อให้สุนัข-แมวในเขตพื้นที่ตำบลห้วยปูลิงทุกหมู่บ้านได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างทั่วถึง

2. เพื่อสร้างความตื่นตัวและกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเห็นความสำคัญในการนำสุนัขในความดูแลไปรับวัคซีนป้องโรคพิษสุนัขบ้า

3. เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัข-แมวกัด

4. เป้าหมาย

  - สุนัขและแมวในพื้นที่ตำบลห้วยปูลิง จำนวน 383 ตัว

5. พื้นที่ดำเนินการ

  - ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน  (11 หมู่บ้าน)

6. วิธีดำเนินการ

1. วางแผน/จัดทำโครงการ

2. ลงพื้นที่ตรวจสอบ/สอบถาม/เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนสุนัข,แมว

3. ดำเนินการตามโครงการ

4. สรุปโครงการ

7. ระยะเวลาดำเนินการ

  ระหว่างวันที่  1 เมษายน 2563 – 31 พฤษภาคม 2564

650601 1406

650601 1407

650601 1408

650601 1409

650601 1410

650601 1411

Related Articles